ข้อมูลยาสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

Isosorbide dinitrate sublingual tablet 5 mg (ISOREM 5)


ชื่อสามัญทางยาภาษาไทย

ไอโซซอร์ไบด์ไดไนเตรต 5 มิลลิกรัม รูปแบบ อมใต้ลิ้น   Click to listen highlighted text! ชื่อสามัญทางยาภาษาไทย ไอโซซอร์ไบด์ไดไนเตรต 5 มิลลิกรัม รูปแบบ อมใต้ลิ้น


ข้อบ่งใช้

เพื่อรักษาหรือป้องกันอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือจะทำกิจกรรมที่อาจทำให้อาการกำเริบ   Click to listen highlighted text! ข้อบ่งใช้ เพื่อรักษาหรือป้องกันอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือจะทำกิจกรรมที่อาจทำให้อาการกำเริบ


ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง 

1.ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้หรือ แพ้ส่วนประกอบของยานี้

2.ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม phosphodiesterase inhibitors เช่น sildenafil

3.ระวังการใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร   Click to listen highlighted text! ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง  1.ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้หรือ แพ้ส่วนประกอบของยานี้ 2.ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม phosphodiesterase inhibitors เช่น sildenafil 3.ระวังการใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร


คำแนะนำในการใช้ยา 

เมื่อเกิดอาการเจ็บเค้น หรือปวดแน่นหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ และนั่งหรือนอนลง เนื่องจากยาอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ เกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เมื่อเปลี่ยนอิริยาบทได้

1.อมยาหนึ่งเม็ดไว้ใต้ลิ้น (วางยาใต้ลิ้นระหว่างริมฝีปากล่างและเหงือก) ปล่อยให้ยาละลายจนหมด ห้ามเคี้ยวหรือกลืนยาทั้งเม็ด ห้ามดื่มเครื่องดื่มหรือรับประทานอาหารใด ๆ หรือสูบบุหรี่ระหว่างอมยา และพยายามบ้วนหรือกลืนน้ำลายให้น้อยที่สุด

2.อาการเจ็บเค้นอกควรจะดีขึ้นหลังจากอมยาไปแล้ว 5 นาที ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้อมยาซ้ำอีกหนึ่งเม็ดพร้อมกับรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น หลังจากอมยาเม็ดที่สองไปแล้ว 5 นาที และยังไม่ถึงโรงพยาบาล ให้อมยาเม็ดที่สามได้อีกหนึ่งเม็ด โดยรวมแล้วไม่เกินสามเม็ด

-ในการใช้ยานี้เพื่อป้องกันอาการกำเริบ ให้อมยานี้ ก่อนเริ่มกิจกรรมที่คาดว่าจะทำให้มีอาการกำเริบ อย่างน้อย 5 – 10 นาที โดยปฏิบัติตามขั้นตอนข้อ 2   Click to listen highlighted text! คำแนะนำในการใช้ยา  เมื่อเกิดอาการเจ็บเค้น หรือปวดแน่นหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ และนั่งหรือนอนลง เนื่องจากยาอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ เกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เมื่อเปลี่ยนอิริยาบทได้ 1.อมยาหนึ่งเม็ดไว้ใต้ลิ้น (วางยาใต้ลิ้นระหว่างริมฝีปากล่างและเหงือก) ปล่อยให้ยาละลายจนหมด ห้ามเคี้ยวหรือกลืนยาทั้งเม็ด ห้ามดื่มเครื่องดื่มหรือรับประทานอาหารใด ๆ หรือสูบบุหรี่ระหว่างอมยา และพยายามบ้วนหรือกลืนน้ำลายให้น้อยที่สุด 2.อาการเจ็บเค้นอกควรจะดีขึ้นหลังจากอมยาไปแล้ว 5 นาที ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้อมยาซ้ำอีกหนึ่งเม็ดพร้อมกับรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น หลังจากอมยาเม็ดที่สองไปแล้ว 5 นาที และยังไม่ถึงโรงพยาบาล ให้อมยาเม็ดที่สามได้อีกหนึ่งเม็ด โดยรวมแล้วไม่เกินสามเม็ด -ในการใช้ยานี้เพื่อป้องกันอาการกำเริบ ให้อมยานี้ ก่อนเริ่มกิจกรรมที่คาดว่าจะทำให้มีอาการกำเริบ อย่างน้อย 5 – 10 นาที โดยปฏิบัติตามขั้นตอนข้อ 2   


อาการไม่พึงประสงค์ 

ปวดหัว เวียนหัว มึนงง ความดันเลือดต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็ว

หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เวียนหัวหรือปวดหัวอย่างรุนแรง หน้ามืด เป็นลม หัวใจเต้นผิดจังหวะ เหนื่อยหอบ หัวใจเต้นเร็ว ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันที   Click to listen highlighted text! อาการไม่พึงประสงค์  ปวดหัว เวียนหัว มึนงง ความดันเลือดต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็ว หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เวียนหัวหรือปวดหัวอย่างรุนแรง หน้ามืด เป็นลม หัวใจเต้นผิดจังหวะ เหนื่อยหอบ หัวใจเต้นเร็ว ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันที   


การเก็บรักษายา

ควรเก็บยาไว้ในที่แห้ง ใส่ในภาชนะบรรจุปิดสนิท ป้องกันแสง   Click to listen highlighted text! การเก็บรักษายา ควรเก็บยาไว้ในที่แห้ง ใส่ในภาชนะบรรจุปิดสนิท ป้องกันแสง


  ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลยาสำหรับให้ประชาชนใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นเท่านั้น หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร   Click to listen highlighted text! ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลยาสำหรับให้ประชาชนใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นเท่านั้น หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร


ที่มาของข้อมูล: นริสา ตัณฑัยย์, พาขวัญ ปุณณุปูรต, วุฒิรัต ธรรมวุฒิ, ผุสดี ปุจฉาการ, นิติ โอสิริสกุล, ชัยรัตน์ ฉายากุล, บรรณาธิการ. ข้อมูลยาประชาชน : ฉลากยาเสริม และข้อมูลความปลอดภัยในการใช้ยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา ; 2561. 


ขอความกรุณาผู้ใช้บริการตอบแบบสำรวจ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับฉลากยาออนไลน์ (กดเพื่อตอบแบบสำรวจ)

Click to listen highlighted text!